วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2566 นายประยูร พรมไธสง นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ มอบหมายให้ นายสุพิน นองมัน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ นางนงนุช พรรคฐิน นักวิชาการสัตวบาลปฏิบัติการ พร้อมด้วย นายวรพจน์ ตีทอง ปศุสัตว์อำเภอเมืองสุรินทร์ ร่วมติดตาม ตรวจเยี่ยม วิสาหกิจชุมชนโคขุนสุรินทร์โกเบฯ โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อสุรินทร์วากิวครบวงจรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้เกษตรกร โดยคณะของนายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ พร้อมด้วยทีมงาน ณ คอกกลางเลี้ยงโคขุน โดยมีคณะกรรมการเครือข่ายฯ เข้าให้ข้อมูลผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการฯ (*)

(#) จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เครือข่ายฯ สามารถเลี้ยงโคขุนได้จำนวน 452 ตัว จากเป้าหมาย จำนวน 480 ตัว คิดเป็น 94 % สามารถจำหน่ายโคขุนแล้ว จำนวน 18 ตัว มีระดับเกรดไขมันแทรก 3.5-4.5 ซึ่งถือว่าเป็นเกรดคุณภาพ โดยจากแผนการผลิตที่ได้รับอนุมัติเกษตรกรต้องเลี้ยงขุนโคนาน 24 เดือน จึงจะสามารถจำหน่ายให้กับบริษัทรับซื้อได้ แต่ในความเป็นจริงเกษตรกรใช้เวลาเลี้ยงโคขุนเพียง 19 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้ ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เร็วขึ้น มีผลกำไรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คาดว่าผลสำเร็จที่ได้รับเกิดจากการคัดเลือกโคสายพันธุ์ดี การใช้อาหาร TMR ที่มีความสม่ำเสมอของคุณภาพ รวมถึงการจัดการที่เหมาะสมได้มาตรฐาน

(*) ทั้งนี้ เกษตรกรมีกำไรจากการจำหน่ายโคขุนเฉลี่ย 100,000 บาท/ตัว โดยกลุ่มได้หักเงินจากรายได้เพื่อเก็บไว้ชำระหนี้กองทุน FTA ตัวละ 11,100 บาท สามารถสร้างความเชื่อมั่นว่าสามารถชำระหนี้ให้กับกองทุน FTA ได้อย่างแน่นอน (*)

383456 38135 38146
38147 38154 383452