ก.เกษตรฯ ห่วงใยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ทั่วประเทศ
อ่านข่าว คลิกที่รูปภาพ
อ่านข่าว คลิกที่รูปภาพ
วันที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 08.00 น. น.สพ.อภิชัย นาคีสังข์ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วย น.ส.พ.ประยูร พรมไธสง หัวหน้ากลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์,น.สพ.นายจรูญวิทย์ นะพรรัมย์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์,นายสุพิน นองมัน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์,นายศรัณวัชร์ บุญเกิด หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการพัฒนาปศุสัตว์,นายธีระ กงแก้ว หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไปและเจ้าหน้าที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถพิตร วันชาติและวันพ่อแห่ชาติ 5 ธันวาคม 2566 เพื่อน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดี ในเดือนธันวาคม 2566 ณ วัดพรหมสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
วันที่ 16 ธันวาคม 2566 เวลา 06.00 น. นายสัตวแพทย์อภิชัย นาคีสังข์ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรโครงการ "ผู้ว่าฯ พาแต่งผ้าไทยทำบุญใส่บาตรกับช้าง ทุกวันเสาร์" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธ วิถีธรรม วิถีคนกับช้าง และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีวิถีสุรินทร์ ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองสุรินทร์ โดยมี นายชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในกิจกรรมฯ
วันที่ 17 ธันวาคม 2566 นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมาย นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick off "โครงการการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย วัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย และวัคซีนลัมปีสกิน ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนายสัตวแพทย์อภิชัย นาคีสังข์ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ โดยมีปลัดอำเภออาวุโสผู้แทนนายอำเภอท่าตูมให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนบ้านปราสาท หมู่ 5 ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนอำนวยความสะดวกจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ ซึ่งสามารถช่วยลดความสูญเสียให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ และสามารถช่วยให้ปศุสัตว์มีคุณภาพดีสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากขึ้น ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาด้านโรคระบาดสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพเสริมสลับกับการเพาะปลูกของเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์จัดให้มีการ Kick Off รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าในต่างประเทศ พร้อมขอให้เกษตรกรดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด ซึ่งการฉีดวัคซีนจะช่วยให้สัตว์มีภูมิคุ้มกัน และลดการแพร่โรคระบาดต่อสัตว์ตัวอื่นได้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพ เกษตรกรมีรายได้ดี และคู่ค้าในต่างประเทศมีความมั่นใจในการค้ากับประเทศไทย
ภายในงานมีกิจกรรมการมอบเกียรติบัตรอาสาปศุสัตว์ผู้ปฏิบัติดีเด่นอำเภอท่าตูม การมอบเวชภัณฑ์ แก่ผู้แทนเกษตรกร พิธีการปล่อยขบวนเจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนที่เร็ว และรถพ่นยาฆ่าเชื้อของกรมปศุสัตว์ ออกหน่วยให้บริการฉีดวัคซีน/ถ่ายพยาธิ นิทรรศการให้ความรู้เกษตรกรจากหน่วยงานสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการกระบือ ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ร่วมกับด่านกักกันสัตว์สุรินทร์ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้บริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคจุดรวมสัตว์ เช่น ตลาดนัดค้าสัตว์ รถบรรทุกสัตว์ ศูนย์รวบรวมน้ำนม พื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก และ คอกสัตว์ เพื่อให้เกิดการป้องกันโรคระบาดสัตว์มีประสิทธิภาพขั้นสูงสุด อีกด้วย
วันที่ 15 ธันวาคม 2566 นายสัตวแพทย์อภิชัย นาคีสังข์ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ มอบหมายให้นายสุพิน นองมัน หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ สำรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจรตำบลสลักได อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ตามโครงการส่งเสริมอาชีพด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โดยได้คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อรับการสนับสนุนจากโครงการ ฯ ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
ทั้งนี้เพื่อเตรียม ความพร้อม โครงการฝึกอบรมหลักสูตร "การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ (GI )และการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น ระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์