ข่าวสารสัตวแพทย์พระราชทานกรมปศุสัตว์
โครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวงออกหน่วยให้บริการในพื้นทื่จังหวัดขอนแก่น
วันพุธที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 10.00 น. นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นายชาญประเสริฐ พลซา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น กล่าวรายงาน โดยมีนายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี และมีคณะกรรมการโครงการ สัตวแพทย์พระราชทานฯ ปศุสัตวเขต 4 หัวหน้าส่วนราชการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีเกียรติทุกท่านเข้าร่วมงาน ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นงานสนองพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบริการประชาชนชาวไทย ให้มีความอยู่ดีกินดีโดยถ้วนหน้าและเสมอภาคกัน เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจ อีกทางหนึ่ง สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่อยู่ห่างไกลและขาดโอกาสที่จะได้รับบริการอย่างทั่วถึง โครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นความร่วมมือแบบบูรณาการของบุคลากรทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของวิชาชีพ สัตวแพทย์และวิชาชีพอื่นๆ ต่างผนึกกำลังในการใช้เทคโนโลยีและวิชาการอันทันสมัยของแขนงต่างๆ เพื่อบริการประชาชน ให้ได้ผลสำเร็จตามพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นับเป็นความโชคดีของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะอำเภอบ้านไผ่ และอำเภอโนนศิลา ที่จะได้รับบริการจากบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีน้ำใจดีงาม ที่จะมาช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยของสัตว์ และบรรเทาความทุกข์ร้อนของทุกท่าน
ด้าน นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า เนื่องด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่เสด็จเยี่ยมความเป็นอยู่ของราษฎร จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามถวายงานตามรับสั่ง เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือแก่เกษตรกร ทรงแนะนำการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง รวมทั้งทรงพระราชทานแนวคิดใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา ทรงห่วงใยและปรารถนาดีต่อพสกนิกรของพระองค์ทั้งสิ้น โครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นงานที่สนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบริการประชาชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดีโดยถ้วนหน้าและเสมอภาคกัน เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจอีกทางหนึ่ง สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ อยู่ห่างไกลและขาดโอกาส กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ สมาคมด้านสัตวแพทย์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานขึ้นมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 จนถึงปัจจุบัน
ในปีงบประมาณ 2566 กรมปศุสัตว์ได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านปศุสัตว์ในการพัฒนาบริการด้านสุขภาพสัตว์ ได้จัดให้มีการดำเนินการโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีเป้าหมายการออกหน่วยให้บริการในเขตพื้นที่อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอโนนศิลา โดยมีเป้าหมายเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มารับบริการ 450 ราย และสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรได้รับการดูแลสุขภาพ 3,000 ตัว มีผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสิ้น 360 คน กำหนดดำเนินการระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2566 รวมระยะเวลา 3 วัน สำหรับกิจกรรมโครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ ครั้งนี้ ประกอบด้วย การตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ทั้งด้านอายุรกรรม สูติกรรม ศัลยกรรม การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ การกำจัดพยาธิภายใน – ภายนอก การเก็บตัวอย่างเพื่อสำรวจสภาวะโรค การฝึกอบรม ให้ความรู้ แนะนำการเลี้ยงการดูแลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ การผลิตแร่ธาตุและอาหารสัตว์แก่เกษตรกร เป็นต้น และการดำเนินการครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนในจังหวัดขอนแก่น
---------------------------------------------
วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา โรงเรียนเทศบาลท่าตูม ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่เสด็จเยี่ยมความเป็นอยู่ของราษฎร จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามถวายงานตามรับสั่ง เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชน ทรงแนะนำการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง รวมทั้งทรงพระราชทานแนวคิดใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นไปด้วย ความเมตตา ทรงห่วงใยและปรารถนาดีต่อพสกนิกรของพระองค์ทั้งสิ้น
การดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการบริการประชาชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดี โดยถ้วนหน้าและเสมอภาคกัน เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจอีกทางหนึ่ง สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ อยู่ห่างไกล และขาดโอกาส โครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นความร่วมมือแบบบูรณาการของสัตวแพทย์ไทย และบุคลากรทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของวิชาชีพสัตวแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ ต่างผนึกกำลังในการใช้เทคโนโลยี และวิทยาการอันทันสมัยของแขนงต่างๆ เพื่อบริการประชาชน ให้ได้ผลสำเร็จตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นับเป็นความโชคดีของเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะอำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี และอำเภอเขวาสินรินทร์ ที่จะได้รับบริการจากบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีน้ำใจดีงาม ที่จะมาช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงและบรรเทาความทุกข์ร้อนของทุกท่าน
ด้านนายสัตวแพทย์ประเสริฐ สรรเพชุดาญาณ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทาน ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ สมาคมผู้ค้าเวชภัณฑ์สัตว์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้ร่วมกันดำเนินงานในโครงการสัตวแพทย์พระราชทานขึ้นมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 จนถึงปัจจุบัน ในปีงบประมาณ 2561 กรมปศุสัตว์บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านปศุสัตว์ในการพัฒนาบริการด้านสุขภาพสัตว์ได้จัดให้มีการดำเนินการโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ มีเป้าหมายในการออกหน่วยให้บริการในเขตพื้นที่อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอเขวาสินรินทร์ โดยมีคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา สัตวแพทย์และนักวิชาการจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมทั้งสิ้น 200 คน กำหนดำเนินการระหว่างวันที่ 7 - 9 มีนาคม 2561 รวมระยะเวลา 3 วัน
สำหรับกิจกรรมโครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ ครั้งนี้ ประกอบด้วย การตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ทั้งด้านอายุรกรรม สูติกรรม ศัลยกรรม การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสัตว์การกำจัดพยาธิภายใน – ภายนอก การเก็บตัวอย่าง สำรวจสภาวะโรค การเสวนาปัญหาด้านปศุสัตว์ การให้ความรู้ แนะนำการเลี้ยง และการดูแลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะแก่เกษตรกร
รองอธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริฯ จังหวัดชัยนาท
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท โดยมีนางสาวชไมพร อำไพจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท กล่าวต้อนรับ นายสัตวแพทย์บุญฤทธิ์ ทองสม ปศุสัตว์จังหวัดชัยนาท กล่าวรายงาน และคณะกรรมการโครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ สัตวแพทย์หญิงขนิษฐา ธิติดิลกรัตน์ ปศุสัตว์เขต 1 หัวหน้าส่วนราชการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ผู้นำท้องถิ่น และพี่น้องเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ เข้าร่วมงาน ณ อาคารชิโนโปตุเกส เทศบาลตำบลหันคา อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ทั้งนี้ เพื่อให้บริการตรวจรักษาพยาบาลสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลความเจริญหรือขาดโอกาสที่จะได้รับการบริการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการป้องกันโรคระบาดสัตว์จากสัตว์สู่สัตว์ และโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน ช่วยพัฒนาสุขภาพสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ในด้านสุขภาพสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป เพื่อจะได้ดูแลรักษาสัตว์ป่วยเบื้องต้น และช่วยพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ของประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของอาชีพต่อไป
นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบริการประชาชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดีโดยถ้วนหน้าและเสมอภาคกัน เป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจอีกทางหนึ่ง สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ อยู่ห่างไกลและขาดโอกาส โครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นความร่วมมือแบบบูรณาการของสัตวแพทย์ไทย และบุคลากรทุกภาคส่วนทั้งในส่วนของวิชาชีพสัตวแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ ต่างผนึกกำลังในการใช้เทคโนโลยี และวิชาการอันทันสมัยของแขนงต่างๆ เพื่อบริการประชาชนให้ได้ผลสำเร็จตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นับเป็นความโชคดีของเกษตรกรจังหวัดชัยนาท ในพื้นที่อำเภอหันคา และอำเภอหนองมะโมงที่จะได้รับบริการจากบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีน้ำใจดีงามที่จะมาช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยของสัตว์ และบรรเทาความทุกข์ร้อนของทุกท่าน
“สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่เสด็จเยี่ยมดูความเป็นอยู่ของราษฎร จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามถวายงานตามรับสั่ง เพื่อพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนทรงแนะนำการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง รวมทั้งทรงพระราชทานแนวคิดใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดเป็นพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงน้ำพระราชหทัยอัน เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตาทรงห่วงใยและปรารถนาดีต่อพสกนิกรของพระองค์ทั้งสิ้น โครงการสัตวแพทย์พระราชทานฯ เป็นงานที่สนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบริการประชาชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดีโดยถ้วนหน้าและเสมอภาคกัน เป็นการ แบ่งเบาพระราชกรณียกิจอีกทางหนึ่ง สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้อยู่ห่างไกลและขาดโอกาส กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทาน ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ บริษัท สมาคม มูลนิธิ ภาคเอกชนด้านการเลี้ยงสัตว์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการสัตวแพทย์พระราชทานขึ้นมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 จนถึงปัจจุบัน ในปีงบประมาณ 2566”
ด้านนายสัตวแพทย์บุญฤทธิ์ ทองสม ปศุสัตว์จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า กรมปศุสัตว์บูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านปศุสัตว์ในการพัฒนาบริการด้านสุขภาพสัตว์ ได้จัดให้มีการดำเนินการโครงการสัตวแพทย์พระราชทานในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครั้งที่ 2 ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ออกหน่วยให้บริการในเขตพื้นที่อำเภอหันคา และอำเภอหนองมะโมง โดยมีเป้าหมายเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มารับบริการ 990 ราย จำนวนโคนม 942 ตัว โคเนื้อ 6,039 ตัว กระบือ 1,324 ตัว แพะ 1,218 ตัว แกะ 62 ตัว สุนัขและแมว 200 ตัว โดยมีคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา สัตวแพทย์ นักวิชาการจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 200 คน กำหนดดำเนินการระหว่างวันที่ 14 – 16 มีนาคม 2566 รวมระยะเวลา 3 วัน
สำหรับกิจกรรมโครงการสัตวแพทย์พระราชทานครั้งนี้ประกอบด้วย การตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ทั้งด้านอายุรกรรม สูติกรรม ศัลยกรรม การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสัตว์การกำจัดพยาธิภายใน – ภายนอก การเก็บตัวอย่าง การสำรวจสภาวะโรค การเสวนาปัญหาด้านปศุสัตว์ การให้ความรู้ แนะนำ การเลี้ยง และการดูแลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะแก่เกษตรกร เป็นต้น ในการดำเนินการครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วนจังหวัดชัยนาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และเกษตรกรในพื้นที่